เจาะประเด็น...การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย

16 พฤษภาคม 2562


วัตถุประสงค์
   1.   เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความเข้าใจ ถึงวิธีการ หรือขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับองค์กรได้ถูกต้อง ตามกฎหมายแรงงานไทย
   2.    เพื่อให้การบริหารการจัดการแรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานไทย  และได้รับทราบการกล่าวโทษทางวินัย ที่ของนายจ้าง - ลูกจ้างทำผิดกฎหมายจะได้รับโทษอย่างไร?
   3.  เพื่อให้นำองค์ความรู้จากการอบรมไปปฏิบัติจริงต่อการบริหารแรงงานต่างด้าว และแรงงานไทยให้อยู่ร่วมกันในองค์กร อย่างมีความสามัคคีกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน


หัวข้ออบรม

1. ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำแรงงาน / ไทย / เมียนมา / ลาว / กัมพูชา มีอัตราและแตกต่างกันเท่าใด?

2.  ปัญหาที่ทำให้นายจ้างต้องจ้างแรงงานต่างด้าวมาจากอะไร ?

     ·   ยกตัวอย่างประกอบ 5 ประการ

3.  การนำแรงงานต่างด้าวที่ผ่านระบบ MOU เข้ามาทำงานโดยนายจ้างนำเข้ามาเอง หรือนำเข้าผ่านบริษัทฯ นำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ มีขั้นตอนของการนำเข้าอย่างไร?

    ·  การเตรียมเอกสาร / การติดต่อจัดหางานเขตพื้นที่ / การติดต่อบริษัทฯ นำเข้า / การทำสัญญาจ้าง / ค่าใช้จ่าย  / ขั้นตอนการนำเข้า / การติดต่อไปยังประเทศต้นทาง / การทำสัญญาจ้าง / การกำหนดสวัสดิการ / การอบรมที่ศูนย์รับแรกเข้า / การออกวีซ่า / การออกใบอนุญาตทำงาน / การจัดที่พักให้ /  การตรวจร่างกาย / การแจ้งนำเข้า / การรายงานตัว / การต่อสัญญาจ้าง

4.  การจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานในองค์กรจ้างให้ถูกกฎหมายต้องดำเนินการอย่างไร?   

     ·  การตรวจสอบเอกสาร / บัตรประจำตัว / วีซ่า / หนังสือขออนุญาตทำงาน / การแจ้งออก / การสอบถามเหตุผลที่เปลี่ยนงาน / การทำสัญญาจ้าง / การกำหนดค่าจ้าง / การจัดสวัสดิการ / การแจ้งเข้าเพื่อเปลี่ยนนายจ้าง / ค่าใช้จ่ายต่างๆ / การตรวจร่างกาย / การรายงานตัว / การต่อสัญญาจ้าง

5.  รายระเอียดการบริหารจัดการ การจ้างแรงงานต่างด้าวมี 9 ประการ

6.  จ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านบริษัทเอ้าซอร์ต โดยมาจากระบบ MOU / ระบบพิสูจน์สัญชาตินายจ้างทำได้หรือไม่?
7.  ต่างด้าว 3 สัญชาติที่ผ่านระบบ MOU และผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มีสิทธิทำงานประเภทใดบ้าง?
     ·   ประเภททำงานบ้าน / ทำงานกรรมกร / งานที่กำหนดไว้ตาม พรก. 

8. ต่างด้าว 3 สัญชาติขณะทำงานในราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานตาม พรก. อย่างไร?
       ·  เปลี่ยนนายจ้าง / เปลี่ยนประเภทงาน / เปลี่ยนท้องที่ทำงาน / เงื่อนไขการทำงาน

9.  ต่างด้าวที่ผ่านระบบ MOU ต้องการเปลี่ยนนายจ้างใหม่ จะต้องมีองค์ประกอบตามกฎหมายอย่างไร?

     ·    ต้องอยู่ในเงื่อนไข 5 ประการ

10.  หน้าที่ของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างต่างด้าวขณะปฏิบัติงานและอยู่ในเวลาตามสัญญาจ้าง

      ·   หน้าที่ของนายจ้างมี 5 ประการ

      ·   หน้าที่ของลูกจ้างต่างด้าวมี 7 ประการ

11.  การนำแรงงานต่างด้าวระดับฝีมือชำนาญการเข้ามาทำงานกับนายจ้างอย่างถูกกฎหมาย

      ·   การเตรียมเอกสาร / กระบวนการนำเข้า / ค่าใช้จ่ายต่างๆ

 12.  บริษัทฯ นำเข้าแรงงานต่างด้าวมีความมั่นคงและมีบทบาทหน้าที่ต่อผู้ว่าจ้างอย่างไร?

      ·   ทุนจดทะเบียน / เงินหลักประกัน / ค่าบริการ / การส่งมอบงาน / การส่งแรงงานกลับไปยังประเทศต้นทาง

13.  ผู้ที่ประกอบธุรกิจนำแรงงานต่างด้างเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจะมีความผิดได้รับโทษทางแพ่ง / ทางอาญาอย่างไร?

14.  บทลงโทษ  นายจ้าง / ลูกจ้าง / บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวกรณีทำผิดกฎหมาย (พรก.) แรงงานต่างด้าว

      ·   นายจ้าง รับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานไม่มีใบอนุญาตทำงาน / ให้ต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามใบอนุญาตทำงาน / ให้ต่างด้าวทำงานซึ่งใบอนุญาตทำงานเป็นชื่อของนายจ้างอื่น / ไม่แจ้งการออกจากงานของต่างด้าวต่อนายทะเบียน

      ·   ลูกจ้างต่างด้าวทำงานไม่มีใบอนุญาตทำงาน / ทำงานไม่ตรงตามใบอนุญาตทำงาน / ไม่มีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัวขณะทำงาน

      ·   บริษัทนำเข้า ไม่ส่งแรงงานต่างด้าวกับไปยังประเทศต้นทาง / การพักใบอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าว / การถอนใบอนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าว / การประกอบธุรกิจนำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยไม่ได้รับอนุญาตต่อนายทะเบียน

15.  แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่เข้ามาทำงานกับนายจ้าง (ในภาพรวม) แรงงานชาติใดทำงานถูกใจนายจ้างมากที่สุด

      ·   ยกตัวอย่าง / เปรียบเทียบแรงงาน 3 สัญชาติ / ข้อแตกต่าง / ข้อดี / ข้อเสีย

16.  แรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวปฏิบัติงานหรือปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างไร?

      ·   ยกตัวอย่างประกอบ / ความกระตือรือร้น / การรับผิดชอบต่อหน้าที่ / คุณภาพของงาน / ค่าตอบแทนในการทำงาน / ค่าจ้าง / สวัสดิการ / การปฏิบัติตนผิดวินัยในการทำงาน / การสร้างปัญหากดดันนายจ้าง

17.  ความคุ้มค่าต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในองค์กร

      ·   ยกตัวอย่างประกอบกรณีต่างๆ 5 ประการ

18.  ปัญหาในการจ้างแรงงานต่างด้าวมาจากอะไร?

      ·   ยกตัวอย่างประกอบ 7 ประการ

19.  จ้างแรงงานต่างด้าวให้ค่าจ้าง / สวัสดิการแตกต่างไปจากแรงงานไทยต้องปฏิบัติอย่างไร?

      ·   ยกตัวอย่างประกอบ 7 ประการ

20.  แรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวชกต่อยกัน (เป็นกรณีร้ายแรง) นายจ้างเลิกจ้างคนเดียวทำได้หรือไม่?

       ·    การพิจารณาของศาลให้เป็นสิทธิหรือเป็นดุลยพินิจของนายจ้าง (เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว)

      ·   ยกตัวอย่างประกอบ 7 กรณี

21.  นายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ขัดต่อกฎหมาย เป็นโมฆะ มีกรณีใดบ้าง?

      ·   ยกตัวอย่างประกอบ 7 ประการ

22.  สวัสดิการต่างๆ ที่นายจ้างจัดให้เมื่อลูกจ้างออกจากงานมักจะเอาไปรวมกับค่าจ้างเพื่อเป็นฐานของค่าจ้าง / ต่อวัน / ต่อเดือน มีสวัสดิการอะไรบ้าง?

      ·   ยกตัวอย่าง ที่เป็นค่าจ้างได้ / เป็นค่าจ้างไม่ได้

23.  นายจ้างนำหน่วยงานภาครัฐเข้าตรวจฉี่พนักงานเพื่อหาสารเสพติดพบลูกจ้างมีสารเสพติด 2 คนนายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่?

24.  ต่างด้าวชุมนุมในเวลางาน เพื่อกดดันนายจ้าง การจ่ายโบนัสประจำปี ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร ให้ปัญหายุติลง

25.  การออกหนังสือเตือนการทำผิดของลูกจ้างเขียนให้ดี / ให้มีผลต่อการผิดช้ำคำเตือน / ให้มีผลในทางกฎหมายต้องระบุข้อความอย่างไร?  

      ·   ยกตัวอย่าง การทำผิดทางวินัยในการทำงาน

26.  ลูกจ้างทำผิดวินัยในการทำงานไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือเตือน ผจ.บุคคลต้องดำเนินการอย่างไร?

27.  การออกหนังสือเลิกจ้างจะระบุเหตุในหนังสือเลิกจ้างอย่างไร จะอ้างอิงอะไรบ้าง ถึงจะยกขึ้นต่อสู้คดีในชั้นศาลได้

      ·   ยกตัวอย่าง การออกหนังสือ / การเขียนข้อความที่ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาล

28.  การแต่งตั้งแรงงานต่างด้าวเพื่อการสื่อสาร หรือเพื่อให้แก้ปัญหาต่างๆ ให้กับองค์กร

      ·   การบริหารเรื่องงาน / การระงับข้อพิพาทแรงงาน / เป็นกรรมการร่วมการสอบสวนทางวินัย / การแก้ปัญหาเรื่องนอกงาน (กรณีมีปัญหากับหน่วยงานภาครัฐ) / การสร้างแรงงานสัมพันธ์

29.  การส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม และสิทธิต่างๆ ที่ได้รับตามกฎหมายของแรงงานต่างด้าว

      ·   แรงงานทำงานบ้าน / ส่งเหมาจ่าย / แรงงานกรรมกร / ส่งเป็นเปอร์เซ็นต์/ ได้รับสิทธิคุ้มครอง 7 ประการ

30.  การกระทำอันไม่เป็นธรรมระหว่างแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าว มีลักษณะของการกระทำอย่างไร?     

      ·   ยกตัวอย่างประกอบ 7 กรณี

31.  การสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างของแรงงานต่างด้าวมีกรณีใดบ้าง และนายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?

      ·   ยกตัวอย่าง 7 กรณี

32.  กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่กำลังจะประกาศใช้ เพิ่มสวัสดิการให้กับลูกจ้างทั่วประเทศมีกรณีใดบ้าง

33.  ในกรณีลูกจ้างไทยฟ้องนายจ้าง / แรงงานต่างด้าวฟ้องนายจ้าง / นายจ้างฟ้องลูกจ้าง (กรณีละเมิด) คดีเกิดขึ้นในศาลแรงงาน ผู้บริหารหรือ HR ต้องบริหารจัดการและดำเนินการอย่างไร  ถึงจะทำให้ชนะคดี

      ·   กระบวนการต่อสู้ทางศาลที่จะทำให้มีผลต่อรูปคดีและทำให้ชนะคดี (ต้องมีความพร้อม 12 ประการ) 

34.  ศาลแรงงานพิจารณาตัดสินคดีให้คู่ความได้รับสิทธิต่างๆ มากกว่าคำฟ้องมีกรณีใดบ้าง?

      ·   ยกตัวอย่าง 5 กรณี

35.  คำพิพากษาฎีกา 70 คดี ที่ผู้บริหารและ HR ควรรู้มีอะไรบ้าง?

ถาม-ตอบ- แนะนำ

ให้คำแนะนำ-ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนาหลังการสัมมนาได้ทุกวันตลอดกาล (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

วิทยากรในการฝึกอบรม : อาจารย์ สมบัติ น้อยหว้า 
ปัจจุบัน  : เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง





วิทยากร

อาจารย์สมบัติ  น้อยหว้า


สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมบูเลอวาร์ด ซอยสุขุมวิท 5

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

16 พฤษภาคม 2562 09.00-16.00

จัดโดย

บจก.ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เบอร์ติดต่อ : 0896060444, 0906450992

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 360 ครั้ง