5ข้อต้องรู้ !เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีและบัญชี "อสังหาริมทรัพย์"

14 - 15 สิงหาคม 2562



 

สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายบัญญัติให้คำว่า "ขาย" รวมถึงขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น ในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับภาษีและบัญชีไว้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจที่เราดำเนินการอยู่ ดังนั้น เราจึงนำ 5ข้อต้องรู้ !เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีและบัญชี "อสังหาริมทรัพย์" มาฝากกัน

  1. ภาษีเงินได้
    กรณีบริษัทหรือหุ้นส่วน
    นิติบุคคล อัตราภาษี1%โดยคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ (ราคาประเมินราชการ) สำหรับบุคคลธรรมดา เมื่อบุคคลธรรมดาขายที่ดินภาษีจะสูงมาก โดยอัตราภาษี+ค่าใช้จ่ายเมื่อโอนที่ดินจะสูงถึง5-35% (ตามมติ ครม. แก้ไขเรื่องฐานภาษี18ตุลาคม 2559)ให้ใช้ฐานภาษี"ราคาซื้อขาย" หรือ"ราคาประเมิน"แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
     
  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
    คิด
    อัตราภาษี 3.3%ของราคาซื้อขาย กรณีบุคคลธรรมดาหากถือครองเกิน5ปี ได้รับยกเว้น และหากถือครองในนาม "นิติบุคคล "คณะบุคคล"หรือ ประกอบกิจการ ไม่ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 
     
  3. อากรแสตมป์
    คิดอัตราภาษี0.5%เท่ากันทั้งบุคคลธรรมดา และ
    นิติบุคคล โดยคิดจากราคาซื้อขาย (ได้รับยกเว้น หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
     
  4. ค่าธรรมเนียมการโอน
    อัตรา
    ภาษี 2% เท่ากันทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล คิดจากจากราคาประเมินฯ
     
  5. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
    ภาษีเงินได้
    นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา69ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
     

(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ซื้อ) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล ซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งสรุปได้ว่า ไม่ว่าผู้จ่ายเงินได้เป็นใครก็จะต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย กรณีนี้

(2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้ขาย) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์

(3) อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษีจากเงินที่จ่ายร้อยละของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ที่มา : กรมสรรพากร www.rd.go.th


ข้อพึงระวัง !! ตามที่รัฐบาลได้มีมาตรการลงโทษผู้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีและฉ้อโกงภาษีตามข้อเสนอของ Financial Action Task Force (FATF)โดยมีการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่45)พ.ศ.2560กำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี หรือขอคืนภาษีโดยความเท็จ เป็นการกระทำความผิดร้ายแรง และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่2เมษายน2560 (http://www.rd.go.th)

 

หลักสูตร การวางแผนภาษีและการจัดทำบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (RE151)
รุ่นที่44,วันพุธที่ 14 -วันพฤหัสบดี ที่15 สิงหาคม2562เวลา08:30 - 17:00น.

 

Tag : ขายที่ดินเสียภาษีบุคคลธรรมดา ,นิติบุคคลขายที่ดิน ต้องเสียภาษี , ภาษีธุรกิจเฉพาะ คำนวณภาษีซื้อ/ขายอสังหาริมทรัพย์ ,วางแผนภาษี ,ภาษีที่ดิน ,ค่าธรรมเนียมการโอนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


วิทยากร


อ. กำธร สิริชูติวงศ์ อดีตนิติกรชำนาญการ สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร




อ. ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีอากร หุ้นส่วนผู้จัดการ บริษัท สำนักกฎหมาย สยามซิตี้ จำกัด




อ. ฐิติวัชร สุพรรณพงศ์ กรรมการ บริษัท แคปปิตอล ลิ้งค์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด




อ. สมบัติ กิตติโภคิรัตน์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ L.P.N. Development Plc.




อ. สุวิมล กฤตยาเกียรณ์ หุ้นส่วนผู้จัดการ สำนักงานสอบบัญชี ดี ไอ เอ




ดร. โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

14 - 15 สิงหาคม 2562 08:30 - 17:00

จัดโดย

ดร. โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
เบอร์ติดต่อ : 022952294

ค่าธรรมเนียม (FEE)

12000 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 640 ครั้ง