การดําเนินธุรกิจในปัจจุบัน
เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้า
ทําให้สามารถได้กําไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก
การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบนั้น
ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสําเร็จ
เทคนิคการลดต้นทุนทั้งในและนอกกระบวนการผลิตมีอยู่หลายวิธี MUDA MURI MURA เป็นเทคนิคแนวคิดของประเทศญี่ปุ่นในการบริหารงาน MUDA ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น MURI ความยากลําบากความไม่เป็นธรรมชาติ
และ MURA ความไม่สมํ่าเสมอในการทํางาน
ความหมายรวมคือการเปรียบเทียบระหว่าง จุดประสงค์ (สิ่งที่ต้องการ) กับวิธีการ
(วิธีที่จะทําให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ)
วิธีการต่างเกินไปน้อยเกินไปหรือไม่สมํ่าเสมอก็จะทําให้เกิดความสูญเปล่าได้ทั้งสิ้น
ดังนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
ว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการง่ายๆ ได้
อย่างไรและสามารถนําไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเกิดประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ปัญหาที่พนักงานต้องพบในแต่ละวันจะยิ่งทําให้เกิดความเบื่อหน่าย
ขาดแรงจูงใจ ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการทํางานให้ง่ายขึ้น
ยังมีเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้อีก เช่น ไคเซ็น คิวซีซี และ 7
Wastes ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้พิสูจน์แล้วว่าสามารถนํามาแก้ไขปัญหาได้จริง
และหากบริษัทใดพนักงานให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรมเหล่านี้ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
เช่นลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดความสูญเปล่าจากการแก้ไข
การรอคอยงานการขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับบุคลากรภายในได้
เป็นต้น
หลักสูตรนี้จึงเป็นคําตอบที่ดีของการใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทํางานได้อย่างเป็นระบบและเห็นผลได้อย่างแน่นอน
เป็นการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการและฝึกการรวมกลุ่มทํากิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง
ในการแก้ไขปัญหาประจําวันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างแนวคิดในการเลือกใช้เครื่องมือในการลดความสูญเสียในการผลิต
อย่างเป็นระบบ
2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ
3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการสร้างคุณภาพกับตัวสินค้าได้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้
ความชํานาญในการทํางานเป็นกลุ่ม
6. เพื่อสร้างกลุ่มคุณภาพ
ให้เกิดขึ้นจากบุคลากรภายในหลังการฝึกอบรม
7. เพื่อสร้างการทํางานเป็นทีม
การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี
8. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทํางานให้กับผู้เข้ารับการอบรม
หัวข้อการอบรม
1.หลักการของระบบการผลิตปัจจุบันและอนาคต
2.ปัญหาของการทํางานที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
3.การวิเคราะห์ปัญหาด้วย QC 7 Tools
4.ความเป็นมาและความหมายของเครื่องมือคุณภาพ
5.วิธีการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือคุณภาพเพื่อลดต้นทุน
6.รู้จักกิจกรรมและเครื่องมือที่ใช้แก้ไข3 MU
- 5ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิต
- Visual control
-เทคนิคการป้องกันของเสียเป็นศูนย์ด้วย Poka Yoke
-การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยไคเซ็น
-เทคนิคการระดมสมองด้วยกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
7.การแก้ไขปัญหา7 Wastes ในเวลาการทํางาน
8.แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทํางานและสินค้า
9.ขั้นตอนการจัดทํากิจกรรม SGA (Small group activity) ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและลดต้นทุน
รูปแบบการเรียนรู้ การบรรยาย
ประกอบการจัดทํา Workshop เชิงปฏิบัติการ
การระดมความความคิด การนําเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การตอบข้อซักถาม
และการแชร์ประสบการณ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจหลักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมสามารถนําหลักการขจัด
3 MU ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทํางานร่วมกับผู้อื่น
4.ผู้เข้าอบรมมีจิตสํานึกเรื่องคุณภาพและทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ
5.ผู้เข้าอบรมมีความรู้กับการทํากิจกรรมลดต้นทุนการผลิตในองค์กรมากขึ้น
อาจารย์ไมตรี บุญขันธ์