เจาะลึก ประเด็นการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU

26 มิถุนายน 2561

จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางตำแหน่งงานที่คนไทยไม่ทำ รัฐบาลจึงได้แก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการได้มีแรงงานเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ทำข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือเรียกว่าMOUกับประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย อาจจะมีเหตุผลเพื่อการสื่อภาษาได้ง่าย - การนับถือศาสนา - สะดวกในการเดินทางเข้า - ออก อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวมีรายได้ มีงานทำ และได้มีโอกาสพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานได้อีก

วัตถุประสงค์

      1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความเข้าใจ ถึงวิธีการ หรือขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับองค์กรได้ถูกต้อง ตามกฎหมายแรงงานไทย

      2.เพื่อให้การบริหารการจัดการแรงงานต่างด้าว ได้รับสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงานไทย และได้รับทราบการกล่าวโทษทางวินัย ของนายจ้าง - ลูกจ้าง ที่ทำผิดจะได้รับโทษอย่างไร?

      3.เพื่อให้นำองค์ความรู้จากการอบรม ไปปฏิบัติจริงต่อการบริหารแรงงานต่างด้าว และแรงงานไทยให้อยู่ร่วมกันในองค์กร อย่างมีความสามัคคีกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

 

หัวข้ออบรม

   1.ข้อตกลงสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล ภายใต้MOUมีวัตถุประสงค์อะไร?

   2.รัฐบาลไทยได้ออกข้อกำหนด การบริหารจัดการ การจ้างแรงงานต่างด้าว มีขึ้นเพื่ออะไร?

   3.นายจ้างขาดแคลนแรงงาน ตำแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ปัญหามาจากอะไร?

   4.การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน จะเกิดผลดี ต่อองค์กรอย่างไร?

   5.การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน จะเกิดปัญหาต่อการบริหาร - การจัดการ อย่างไร?

   6.การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ และบทบาทหน้าที่ - ความรับผิดชอบ มีอะไรบ้าง?

   7.นายจ้างมีสิทธิจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานภายใต้MOUมีงานประเภทไรบ้าง?

   8.การแจ้งความประสงค์ที่จะนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในองค์กร ต้องเตรียมเอกสาร และดำเนินการอย่างไร?

   9.ขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน อย่างถูกกฎหมายภายใต้MOUที่นายจ้างนำเข้าเอง หรือผ่านบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานในประเทศ ต้องดำเนินการอย่างไร?

   10.แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานเป็นผู้บริหารในองค์กร จ้างให้ถูกกฎหมาย ต้องดำเนินการอย่างไร?

   11.แรงงานต่างด้าวแจ้งความประสงค์สมัครงานที่หน้าบริษัทฯ นายจ้างต้องตรวจสอบเอกสารอะไร? และนายจ้างมีสิทธิรับเข้าทำงานได้หรือไม่?

   12.ค่าใช้จ่ายในการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในองค์กร มีจำนวนเท่าใด?

   13.กรณีลูกจ้างต่างด้าวไม่ผ่านการทดลองงาน นายจ้างต้องดำเนินการอย่างไร?

   14.กำหนดสภาพการจ้างแรงงานต่างด้าว ให้ต่างกับแรงงานไทย ทำได้หรือไม่

   15.กำหนดอัตราค่าจ้าง - ค่าตอบแทน - ค่าสวัสดิการ ให้กับแรงงานต่างด้าวต่างกัน ทำได้หรือไม่?

   16.กำหนดวันลาให้กับแรงงานต่างด้าว เพื่อลากลับภูมิลำเนาเดิม ทำได้หรือไม่?

   17.แรงงานต่างด้าวต้องมีเอกสารติดตัวตลอดเวลา เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานภาครัฐมีอะไรบ้าง?

   18.ต่างด้าวมีหนังสือเดินทางเข้าเมืองมาในนามนักท่องเที่ยว นายจ้างจะรับเข้าทำงานเป็นแม่บ้าน และจะขอจดทะเบียน เพื่อทำใบอนุญาตทำงาน ทำได้หรือไม่?

   19.แรงงานต่างด้าวลาป่วยเป็นอาจิณ นายจ้างจะลงโทษ หรือเลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร?

   20.กฎหมายประกันสังคม ลูกจ้างต่างด้าว ได้รับสิทธิ7ประการ มีอะไรบ้าง

   21.ลูกจ้างทำงานครบสัญญาจ้างจึงกลับไปประเทศต้นทาง เมื่อกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง สิทธิทางประกันสังคม จะนับอายุต่อเนื่องกันหรือไม่?

   22.กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่ กำลังจะประกาศใช้ เพิ่มสิทธิต่างๆ แก่ลูกจ้าง มีกรณีอะไรบ้าง?

   23.ลูกจ้างต่างด้าวเป็นกรรมการสวัสดิการ - กรรมการลูกจ้าง ได้หรือไม่?

   24.ลูกจ้างต่างด้าวเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ได้หรือไม่?

   25.เมื่อเกิดปัญหาการสื่อภาษาแรงงานต่างด้าวกับผู้บังคับบัญชา ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร?

   26.บริษัทฯ ประสบปัญหาการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้กับพนักงาน ผจ.บุคคลจะใช้เทคนิคอย่างไร ที่จะเข้าไปชี้แจงให้กับพนักงานเข้าใจ และยุติปัญหาได้

   27.ลูกจ้างต่างด้าวทำงานดี เมื่อครบสัญญาจ้าง บริษัทฯ มีเจตนาจะจ้างให้ทำงานต่อ จะต้องดำเนินการอย่างไร?

   28.ลูกจ้างต่างด้าวมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด นายจ้างจะเลิกจ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร?

   29.ในวันหยุดของลูกจ้างต่างด้าว หัวหน้างานจ้างให้ไปต่อเติมบ้านพักของตน โดยจ่ายค่าจ้างเอง จะมีความผิดหรือไม่?

   30.นายจ้างรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้าง - ลูกจ้าง จะได้รับโทษทางแพ่ง และทางอาญา อย่างไร?

   31.แรงงานต่างด้าวมีความผิดร้ายแรง ตามข้อบังคับในการทำงานของนายจ้าง ที่จะต้องถูกเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย มีกรณีอะไรบ้าง?

   32.เลิกจ้างลูกจ้างต่างด้าวอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหามาฟ้องนายจ้างภายหลังได้

   33.เมื่อลูกจ้างต่างด้าวถูกเลิกจ้าง ไปร้องทุกข์ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ ทำได้หรือไม่?

   34.เมื่อลูกจ้างต่างด้าวถูกเลิกจ้าง ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไปฟ้องศาลแรงงานได้หรือไม่?

   35.คำพิพากษาฎีกา70 คดี ที่ตัดสินคดีแรงงาน ผู้จัดการฝ่ายบุคคลควรรู้ มีคดีอะไรบ้าง?

   ถาม - ตอบ - แนะนำ

 

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า

 

โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท ซ.26

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท

สมาชิก ท่านละ3,500 บาท

ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท

ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

34/289หมู่บ้านไทยสมบูรณ์ 2หมู่ที่2ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี12120

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-191-2509,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์สมบัติ น้อยหว้า



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมอไร้ซ์ สุขุมวิท ซ.26

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

26 มิถุนายน 2561 09.00-16.00

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 02-1912509,062-3155283

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 2734 ครั้ง