MINDSET แห่งการบริหารคน...ศาสตร์แห่งการอ่านคนออก บริหารคนเป็น

12 กุมภาพันธ์ 2562

จากปัญหามนุษย์ต่างมีระบบความคิด ระบบการมองโลกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นพี่น้องกัน หรืออยู่ในครอบครัวเดียวกัน ต่างคนก็ต่างมีแนวการมองโลกที่แตกต่างกัน การที่คนเราจะสามารถเข้าถึงระบบการมองโลกและระบบความคิดของคนอีกคนหนึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจและสามารถคาดคะเนพฤติกรรมของคนๆ นั้นได้ หากเราสามารถอ่านใจหัวหน้าหรือลูกน้องออกแล้วละก็ เราก็จะสามารถคาดว่า ถ้าเราพูดอย่างนี้ อีกฝ่ายจะมีปฏิกิริยาตอบโต้กลับมาอย่างไร อาการแปลกอกแปลกใจก็จะมลายไป โดยเฉพาะหัวหน้าจะได้มอบหมายลูกน้องให้ทำงานตรงกับลักษณะนิสัย จะได้ไม่รู้สึกประหลาดใจกับผลงานที่ได้มอบหมายให้ลูกน้องคนนั้นไปแล้ว แต่จะพอใจกับผลงานที่สั่งไปแล้วออกมาตามที่ต้องการ และหากเราเป็นลูกน้องก็จะสามารถเข้าใจหัวหน้าว่า ทำไมเขาจึงพูดจาเช่นนั้น ทำกิริยาเช่นนั้น และเราจะมีทางหนีทีไล่อย่างไรเมื่อต้องพบพานกับหัวหน้าซึ่งมีพฤติกรรมร้อยรูปแบบ ยากที่จะหาได้ดั่งใจ

         หากคนเรามีความเข้าใจกัน สามารถคาดคะเนพฤติกรรมของกันละกัน และรู้ว่าจะพูดอย่างไร ทำอย่างไรกับคนประเภทต่างๆ แล้ว ความขัดแย้งในครอบครัวจนถึงระดับสังคมก็จะลดน้อยหายไป ในทางกลับกัน เราจะรู้สึกสงสาร รู้สึกเห็นใจ รู้จักประนีประนอม และถนอมน้ำใจผู้อื่น จนมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของหลักการความเข้าใจเรื่องมนุษย์ หลักสูตรMINDSETแห่งการบริหารคน จะทำให้คุณได้เข้าใจและเข้าถึงศาสตร์แห่งการอ่านคนให้ออกก่อนจะบริหารคนอย่างมีทิศทาง


วัตถุประสงค์

          1.เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เข้าสัมมนาให้เข้าถึงด้านพฤติกรรมการทำงานร่วมกันในองค์กร ทั้งจริตนิสัยและลักษณะของตนเองและผู้อื่นในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ 

          2.เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และได้ระดมสมองจากความแตกต่าง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา การทำงานอย่างสร้างสรรค์ และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

          3.เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการใช้ชีวิตร่วมกัน การทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและเพื่อนร่วมงาน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหาร การประสานงาน และการปฏิบัติงาน 


วิธีดำเนินการ

          1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรม50% 

          2.การวิเคราะห์ อภิปราย50 % 

 

หัวข้อหลักสูตร

1.ทำความรู้จักตนเอง ปัญหาที่เรื้อรังในความสัมพันธ์ของมนุษย์คือ การที่ไม่สามารถสื่อความกัน มนุษย์เมื่อเข้าใจอุปนิสัยและระบบความคิดของตนเองก่อน จึงจะสามารถเข้าใจลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของผู้อื่น 

2.เข้าใจเรื่องนิสัยคน จะอธิบายเรื่อง นิสัยคนยากที่จะเปลี่ยนยกเว้นกรณีฝึกที่ถูกต้อง ประกอบกับความรู้ความเข้าใจความเป็นจริงจัง จึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยได้ หัวข้อนี้จะให้เข้าใจที่มาขอนิสัย 

3.ศาสตร์ จริต6ถ้าเราเข้าใจเรื่องจริต เราก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ จะเป็นที่เคารพรักและศรัทธาของผู้คนโดยถ้วนหน้า จะรู้วิธีการพูด และวิธีการแสดงออกต่อคนทุกประเภท ทั้งในระดับสูงกว่า เท่ากัน และต่ำกว่า 

4.ศาสตร์อ่านคนจาก9ลักษณ์ เป็นศาสตร์ที่ทางด้านนักจิตวิทยายอมรับทั่วโลกว่าคนเราเมื่อโดนปลูกฝังมาจาก สังคม การเรียนรู้ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม เราจะมีลักษณะในการตัดสินใจที่แตกต่างกัน จนมาเป็นพฤติกรรม ถ้าเราเข้าใจก็จะเป็นอีกทางที่จะบริหารคนได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพ 

5.ศาสตร์แห่งการฟัง ศาสตร์แห่งการเข้าถึงปัญหาหัวข้อนี้จะเน้นเรื่องการถาม และการฟัง อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องคน เราต้องผ่านทักษะถาม การฟัง และ การจับประเด็น 

6.ศาสตร์แห่งการสื่อสาร การสื่อสารเป็นศาสตร์และศิลป์ ข้อหัวข้อนี้มุ่งเน้นเรื่องการสื่อสารอย่างไรให้โดนใจคน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งงานหรือมอบหมายงาน รวมการการติ การชม เพื่อสร้างภาษาอันทรงพลังในการบริหารงาน 

7. Mindsetหัวใจนักบริหาร สรุปบทเรียนและความเข้าใจ โดยเพิ่มเติมด้วยหัวใจในการบริหารคนให้มีคุณภาพ สามารถรักษาใจคนให้ยั่งยืน จนสามารถสร้างการยอมรับจากหัวหน้าและลูกน้องได้

 

อาจารย์ประกาศิต สพฤกษ์ศรี

 

โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท26

 

บุคคลทั่วไป ท่านละ3,900บาท

สมาชิก ท่านละ3,500 บาท

ลงทะเบียน3ท่านขึ้นไป ท่านละ3,200บาท

ลงทะเบียน5ท่านขึ้นไป ท่านละ2,900บาท

**ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม7%**


บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
34/289หมู่บ้านไทยสมบูรณ์ 2หมู่ที่2ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี12120

www.knctrainingcenter.com

[email protected]
โทร. :02-191-2509,062-315-5283

วิทยากร

อาจารย์ประกาศิต สพฤกษ์ศรี



สถานที่อบรม (VENUE)

โรงแรมอไรซ์ สุขุมวิท26

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

12 กุมภาพันธ์ 2562

จัดโดย

บริษัท เคเอ็นซี เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
เบอร์ติดต่อ : 0623155283, 021912509

ค่าธรรมเนียม (FEE)

3900 (ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

ผู้เข้าชม: 1336 ครั้ง