งานประกอบอุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติด้วย PLC ระดับที่ 1

16 - 17 สิงหาคม 2564

    ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเพื่อมุ่งไปสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ "Digital Economy"หรือ"เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล" โดยการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่จะมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 (Industry4.0) ดังนั้น การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลและผลักดันให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

    ปัจจุบันวิสาหกิจขนาดและขนาดย่อม (SMEs) จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ซึ่ง SMEsสมัยใหม่หลายแห่ง ได้นำเอาเทคโนโลยีทางด้านระบบอัตโนมัติเข้าใช้ควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรม อีกทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลการปฏิบัติงาน         ได้ทุกเวลาระบบควบอัตโนมัติที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ได้แก่ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมีMicroprocessorเป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ

    กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้ผู้ประกอบการSMEsนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้เล็งเห็นความสำคัญของโปรแกรมPLCในภาคอุตสาหกรรมการผลิต จึงได้กำหนดจัดฝึกอบรมออนไลน์ หลักสูตร  "งานประกอบอุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติด้วย PLCระดับ 1" โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าใจความแตกต่างระหว่างระบบควบคุมโดยใช้วงจรรีเลย์กับการควบคุมแบบใช้ PLCและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งาน PLC รุ่นอื่นๆ รวมทั้ง นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปพัฒนาการเขียนโปรแกรมควบคุม PLC ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ SMEs เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อและเนื้อหาหลักสูตร

1. ความสำคัญของโปรแกรม PLC และระบบการควบคุมเครื่องจักรสำหรับธุรกิจ SMEs

2. ภาพรวมของโปรแกรม PLC สำหรับธุรกิจ SMEs เพื่อการควบคุมการผลิต

3. การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการใช้งานโปรแกรม PLC

4. การประยุกต์ใช้โปรแกรมและระบบในภาคการผลิต

5. การ wiring สายระหว่าง PLC กับอุปกรณ์ภายนอก งานย้ำสายไฟโดยใช้หางปลา

6. พื้นที่ I/O Memory, & Output Unit

7. การเปิดโปรแกรมซอฟแวร์ การเชื่อมต่อ PLC (Automatic Online Connection)

8. การเชื่อมต่อ PLC (ตั้งแต่การสร้างNew Projectจนถึงการเชื่อมต่อ)

9. การเปลี่ยนแปลง PLC Modeการเคลียร์ PCL Memory การบันทึกข้อมูล

10. การ Transfer และ Compare โปรแกรม

11. วิธีการคียคําสั่งโปรแกรม,การเขียนโปรแกรม วงจรอนุกรม,การเขียนโปรแกรม วงจรขนาน

12. การเขียนโปรแกรม วงจร Self-holding ,วงจร Timer ,วงจร Keep relay ,การใช้ Counter

13. การใช้คําสั่งพิเศษ Comment แบบต่างๆ เช่น Device comment

14. การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทํางานต่างๆ เช่น การทํางานแบบ Manual ,1 Cycle , Continue Cycle ,Emergency Stop

15. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบหาสาเหตุการทํางานผิดปกติได้

16. การใช้พื้นที่หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล เช่น ตัวเลข, ตัวอักษร

17. การใช้คำสั่งคณิตศาสตร์ เช่น การบวก,การลบ,การคูณ,การหาร

18. การเชื่อมต่อกับระบบติดตามการผลิต และอุปกรณ์ต่าง ๆ





คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

1. เป็นสมาชิก i.industry สมัครที่ www.i.industry.go.th 2. เป็นผู้ประกอบการหรือบุคลากร SMEs ภาคการผลิต จดทะเบียนนิติบุคคล (มีเลขนิติบุคคล 13 หลัก))

วิทยากร

นายวรรณเดช ปรีชญาภูวดล กรรมการ บริษัทออโต้ โซลูชั่น แอดวานซ์ เอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด



สถานที่อบรม (VENUE)

ห้องปฏิบัติการ บริษัท ออโต้โซลูชั่นแอดวานซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME)

16 - 17 สิงหาคม 2564 8.30 - 16.30 น.

จัดโดย

กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เบอร์ติดต่อ : 024306871, 024306872 ต่อ 4

ค่าธรรมเนียม (FEE)

สัมมนาฟรี

ผู้เข้าชม: 574 ครั้ง